flower

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

e-book

ในปัจจุบัน หากใครอยู่ในวงการสิ่งพิมพ์ ย่อมจะทราบดีถึงปัญหาบางอย่างที่ก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ
ปัญหาราคากระดาษและราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลถึงผู้ประกอบการทั้งทางตรง(
ต้นทุนกระดาษ และค่าขนส่งที่แพงขึ้น)และทางอ้อม(การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นของผู้ซื้อ,
อัตราการซื้อโฆษณาที่ลดลง) ทำให้ผู้ประกอบการหลายๆฝ่าย เดือดร้อนไปพอสมควร
โดยเฉพาะรายเล็กๆ ที่อยากจะทำหนังสือขึ้นมาสักเล่ม ดูจะเป็นเรื่องลำบากทีเดียว
E-book จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ที่อยากเผยแพร่ข้อมูลของตนออกไปแต่มีทุนต่ำสนใจ
(ศึกษาเกี่ยวกับebookได้ที่หนังสืออิเลกโทรนิกซ์)
ข้อดีของอีบุ้คที่เห็นคงเป็นการลงทุนที่ต่ำ แต่ก็มีข้อเสียก็คือการเข้าถึงได้ยากเช่นกัน
แต่ด้วยเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารที่มีการพัฒนามากขึ้น ทั้งความเร็วของอินเตอร์เนทที่แรงขึ้น
ทั้งโปรแกรมต่างๆที่มีการพัฒนาให้ใช้ได้สะดวกสบาย ทำให้เหล่าผู้ใช้อินเตอร์เนท
สามารถเข้าถึงข้อมูลในรูปแบบต่างๆมากขึ้นตามไปด้วย
ปัจจุบัน เราจะเห็นได้ว่า อีบุ้คในรูปแบบต่างๆเริ่มเข้ามาในชีวิตเราแบบช้าๆ
ตัวอย่างในเมืองไทยที่เห็นชัดๆคงเป็นเวบไซต์หนังสือพิมพ์
www.manager.co.th คงเป็นตัวอย่างที่ดีของเวบเพจข้อมูลข่าวสารที่มีคนเข้ามากที่สุด
ทำให้ตอนนี้หลายๆค่ายเริ่มพัฒนารูปแบบสิ่งพิมพ์ของตน มาปรากฏโฉมบน
หน้าจอแทนกระดาษเหมือนกัน และยังไม่นับเหล่าไฟล์ PDF ของหนังสือ
จากต่างประเทศต่างๆที่ถ้าหากต้องจ่ายค่าหนังสือ คนซื้อคงหน้าซีดเป็นแถบๆ
วงการการ์ตูนก็ไม่ใช่ว่าไม่มี
ทางฝั่งอเมริกเวบไซต์ www.tokyopop.com ถือเป็นผู้ให้บริการ มังงะออนไลน์รายใหญ่มากๆของโลกทีเดียว
และก็มีเวบอื่นๆอีกหลายเวบที่เกิดขึ้นมาตามกระแส มังงะ
ในญี่ปุ่น เวบไซต์ที่ให้อ่านการ์ตูนโดยเฉพาะ(แบบถูกลิขสิทธิ์)ก็ผุดขึ้นมาบ้างประปราย
ยังไม่นับ การวาดการ์ตูนออนไลน์ในระดับมือสมัครเล่นในบ้านเรา ที่กำลังระบาดหนักทีเดียว
สิ่งเหล่านี้อาจจะกำลังบอกเราว่า
"โลกนี้กำลังยอมรับE-bookมากขึ้น?"
ส่วนตัวของผู้เขียนบทความคงตอบว่าใช่
แต่มันยังคงไม่ใช่ไวๆนี้
อีบุคยังมีข้อจำกัดหลายๆอย่างโดยเฉพาะเรื่องของโปรแกรมที่จะนำมาใช้ ยังค่อนข้างยุ่งยาก
เรื่องของลิขสิทธิ์ ที่โดยล่วงละเมิดได้ง่าย
ผมคิดว่าการนำอีบุ้คในยุคต่อไป คงมาแทนสิ่งพิมพ์ในรูปแบบ แมกกาซีน
ที่เน้นเรื่องของข้อมูลข่าวสารเฉพาะหน้า มาไวไปไว ซึ่งเราไม่ได้ยึดติดหรือคิดจะเก็บมันไว้
แต่เมื่อมีการรวมเล่ม หรือพิมพ์สิ่งเหล่านั้นในรูปแบบของการเก็บสะสม
การเลือกที่จะพิมพ์ในรูปแบบกระดาษนั้นน่าจะเป็นทางเลือกที่ฉลาดกว่า
แน่นอนว่าถึงมันจะเป็นภาพรวมใหญ่ๆ
แต่ผมคิดว่าอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกับวงการการ์ตูน
เราอาจจะเห็นเวบไซต์ การ์ตูนออนไลน์ที่ให้อ่านแบบรายสัปดาห์
แต่เมื่อถึงระยะหนึ่ง ก็มีรวมเล่มออกมา
เคยมีคนถามว่า "มีคอมแล้ว หนังสือจะหมดไปไหม"
ผมคงตอบได้ว่าไม่แน่ๆ ด้านความรู้สึก หนอนหนังสือทั้งหลายคงทราบ
ดีว่าการได้อ่านหนังสือตัวเป็นๆนั้นมันรู้สึกดีเช่นไร
ส่วนทางด้านตรรกะเหตุผล หากลองมองย้อนกลับไป ถึงเราจะมีเทคโนโลยีใหม่ เกิดขึ้นเสมอ
แต่เทคโนโลยีเก่าก็ยังคงอยู่กับเราบนโลกนี้อยู่ดี เช่นถึงจะมีทีวี แต่เราก็ยังมีวิทยุเช่นกัน
และแม้ว่าในขณะนี้ วงการebook เมื่อเทียบกับวงการสิ่งพิมพ์จะเป็นสัดส่วนเล็กๆอยู่
แต่ในอนาคต ebook ไม่ว่าจะในรูปแบบเช่นไร น่าจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้นแน่นอน
โดยเฉพาะวงการการ์ตุนไทย หากเรานำมาปรับใช้ได้ คงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ทางหนึ่งเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น