flower

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มัลติมีเดีย


ความหมายของมัลติมีเดีย
                มัลติมีเดีย  คือ  การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด  เช่น  ข้อความ  กราฟิก  ภาพเคลื่อนไหว  ตามต้องการที่จะเรียกว่า  มัลติมีเดียสัมพันธ์  การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด  เมาส์  หรือตัวชี้  เป็นต้น  การใช้มัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้หรือทำกิจกรรม  รวมถึงดูสื่อต่าง ๆ ด้วยตนเองได้สื่อต่าง ๆ ที่นำมารวมไว้ในมัลติมีเดีย  เช่น  ภาพ  เสียง  วีดีทัศน์  จะช่วยให้เกิดความหลากหลายในการใช้คอมพิวเตอร์อันเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  ในแนวทางใหม่ที่ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์น่าสนใจ  และเร้าความสนใจ  เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
                คุณค่าของมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน
                การใช้มัลติมีเดียทางการเรียนการสอน  ก็เพื่อทางเลือกในการเรียน  และตอบสนองรูปแบบของการเรียนของนักเรียนที่แตกต่างกัน  การจำลองสภาพการณ์ของวิชาต่าง ๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงก่อนการลงมือปฏิบัติจริง  โดยสามารถที่จะทบทวนขั้นตอนและกระบวนการได้เป็นอย่างดี  นักเรียนอาจจะเรียนออกเสียงและฝึกพูด  เป็นต้น
                  การใช้มัลติมีเดียเพื่อเป็นวัสดุทางการสอน  ทำให้การสอนมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้วัสดุการสอน  ธรรมดา  และสามารถเสนอเนื้อหาได้ลึกซึ่งกว่าการสอนที่สอนตามปกติอาทิ  การเตรียมนำเสนอไว้อย่างเป็นขั้นตอน  และใช้สื่อประเภทภาพประกอบการบรรยายและใช้ข้อความนำเสนอในส่วนรายละเอียดพร้อมภาพเคลื่อนไหว  หรือใช้วีดีทัศน์  เช่นนี้  แล้วก็จะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น  ส่วนรายละเอียดพร้อมภาพเคลื่อนไหวหรือใช้วีดีทัศน์เช่นนี้  แล้วก็จะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
               
 คุณค่าของมัลติมีเดียที่ใช้ในการเรียนการสอน
                1.  ส่งเสริมการเรียนด้วยตนเองแบบเชิงรุก  กับแบบสื่อนำเสนอการสอนแบบเชิงรับ
                2.  สามารถเป็นแบบจำลองการนำเสนอหรือตัวอย่างที่เป็นแบบฝึก  และการสอนที่ไม่มีแบบฝึก
                3.  มีภาพประกอบและมีปฏิสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีขั้น
                4.  เป็นสื่อที่สามารถพัฒนาตัดสินใจและการแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                5.  จัดการด้านเวลาในการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้เวลาในการเรียนน้อย
                ดังนั้นจึงอาจสรุปคุณค่าของมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนได้ว่า  มัลติมีเดียเป็นสื่อทางการเรียนการสอนที่มีขอบเขตกว้างขวาง  เพิ่มทางเลือกในการเรียนการสอนสามารถตอบสนองรูปแบบของการเรียนของนักเรียนที่แตกต่างกันได้  สามารถจำลองสภาพการณ์ของวิชาต่าง ๆ เพื่อการเรียนรู้ได้  นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงก่อนการลงมือปฏิบัติจริง  สามารถที่จะทบทวนขั้นตอนและกระบวนการได้เป็นอย่างดี  และนักเรียนสามารถที่จะเรียนหรือฝึกซ้ำได้จึงกล่าวได้ว่า  มัลติมีเดียมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ทางการเรียนการสอน
                องค์ประกอบของมัลติมีเดีย
                มัลติมีเดียที่สมบูรณ์ควรจะต้องประกอบสื่อมากกว่า  2  สื่อตามองค์ประกอบ  ดังนี้  ตัวอักษร  ภาพนิ่ง  เสียง  ภาพเคลื่อนไหว  การเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์และวีดีทัศน์  เป็นต้น  โดยที่องค์ประกอบเหล่านี้มีความสำคัญต่อการออกแบบดังนี้
                ตัวอักษร  (Text)  ตัวอักษร  คือ  ว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญ  ในการเขียนโปรแกรมมัลติมีเดีย  โปรแกรมประยุกต์โดยมากมีตัวอักษรให้ผู้เขียนเลือกได้หลายแบบ  และสามารถที่จะเลือกสีของตัวอักษรได้ตามต้องการ  บอกจากนั้นยังสามารถกำหนดขนาดของตัวอักษรได้ตามต้องการ  การโต้ตอบกับผู้ใช้ก็ยังนิยมใช้ตัวอักษร  รวมถึงการใช้ตัวอักษรในการเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์ได้  เช่น  การคลิกไปที่ตัวอักษร  เพื่อเชื่อมโยงไปนำเสนอ  เสียง  ภาพกราฟิก  หือ  เล่นวีดีทัศน์  เป็นต้น  นอกจากนี้ตัวอักษรยังสามารถนำมาจัดเป็นลักษณะเมนู  เพื่อให้ผู้ใช้เลือกข้อมูลที่จะศึกษาได้
                ภาพนิ่ง  (Still  Images)  ภาพนิ่งเป็นภาพกราฟิกที่ไม่มีการเคลื่อนไหว  เช่น  ภาพถ่าย  หรือภาพวาด  เป็นต้น  ภาพนิ่งมีบทบาทสำคัญต่อมัลติมีเดียมาก  ทั้งนี้เนื่องจากจะให้ผลในเชิงของการเรียนรู้ด้วยการมองเห็นไม่ว่าจะดูโทรทัศน์  หนังสื่อพิมพ์  วารสาร  ฯลฯ  จะมีภาพเป็นองค์ประกอบเสมอ  ดังคำกล่าวที่ว่า  ภาพนิ่งภาพมีคุณค่า  เท่ากับคำถึงพันคำ”  ดังนั้นภาพนิ่งมีบทบาทมากในการออกแบบมัลติมีเดียที่มีตัวอักษรและภาพนิ่งเป็น  GUI  ภาพนิ่งสามารถผลิตได้หลายวิธี  อย่างเช่น  การวาด  การสแกนภาพเป็นต้น
                ภาพเคลื่อนไหว  หมายถึง  การเคลื่อนไหวของสูดสูปและวาล์ว  ในระบบการทำงานของเครื่องยนต์  4  จังหวะ  เป็นต้น  ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าใจระบบการทำงานการทำงานของเครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดี  ดังนั้น  ภาพเคลื่อนไหวจึงขอบข่ายตั้งแต่การสร้างภาพด้วยกราฟิกอย่างง่าย  พร้อมทั้งการเคลื่อนไหวกราฟิกนั้น  จนถึงกราฟิกที่มีรายละเอียดแสดงการเคลื่อนไหวในวงการธุรกิจ  ก็มี  Autodesk  Annimation   ซึ่งมีคุณสมบัติดีทั้งในด้านของการออกแบบกราฟิกละเอียดสำหรับใช้มัลติมีเดียตามต้องการ
                การเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์  หมายถึงการที่ผู้ใช้มัลติมีเดียสามารถเลือกข้อมูลได้ตามต้องการ  โดยใช้ตัวอักษรหรือปุ่มสำหรับตัวอักษรที่สามารถเชื่อมโยงไก้จะเป็นตัวอักษรที่มีสีแตกต่างจากตัวอักษร  ตัวอื่น ๆ ส่วนปุ่มที่จะมีลักษณะคล้ายกับปุ่มเพื่อชุมภาพยนตร์  หรือคลิกบนปุ่มเพื่อหาข้อมูลที่ต้องการ  หรือเปลี่ยนหน้าต่างของข้อมูลต่อไป
                วีดีทัศน์  (Video)  การใช้มัลติมีเดียในอนาคตจะเกี่ยวข้องกับการนำเสนอด้วยเวลาจริงที่จำนวน  30  ภาพต่อวินาที  ในลักษณะนี้จะเรียกว่าวีดีทัศน์ดิจิตอลคุณภาพของวีดีทัศน์ดิจิตอลจะทัดเทียมกับคุณภาพที่เห็นจอโทรทัศน์  ดังนั้นวีดีทัศน์ดิจิตอลและเสียงจึงเป็นส่วนที่ผนวกเข้าไปสู่การนำเสนอและการเขียนโปรแกรม  มัลติมีเดียวีดีทัศน์สามารถนำเสนอได้ทันทีด้วยจอภาพคอมพิวเตอร์  ในขณะที่เสียงสามารถเล่นออกไปยังลำโพงภายนอกได้โดยผ่านการ์ดเสียง
การรวมองค์ประกอบของมัลติมีเดีย
                พื้นฐานของมัลติมีเดียจะต้องมีองค์ประกอบมากกว่า  2  องค์ปรกอบเป็นอย่างน้อย  เช่น  ใช้ตัวอักษรร่วมกับการใช้สีที่แตกต่างกัน  2-3  สี  ภาพศิลป์  ภาพนิ่ง  จากการวาดหรือการสแกน  นอกนั้นก็อาจมีเสียงและวีดีทัศน์ร่วมอยู่ด้วยก็ได้  การใช้มัลติมีเดียที่นิยมกันมี  2  แบบ  แบบแรกคือ  การใช้มัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอและแบบที่สอง  คือ  การใช้มัลติมีเดียเพื่อการฝึกอบรม  หรือ  การเรียนรู้ในด้านของการใช้จะนิยมใช้โปรแกรม  ชุดนำเสนอและชุดประพันธ์
                1.  ชุดนำเสนอ  เป็นโปรแกรมที่พัฒนาจากแนวคิดของการใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะมาเป็นการนำเสนอโดย  คอมพิวเตอร์  และโปรเจกเตอร์แทนชุดนำเสนอจะสามารถสร้างความมีสีสัน  กราฟิก  แผนภูมิ  แผนภาพ  ภาพเคลื่อนไหว  เสียง  และวีดีทัศน์  เหล่านี้สามารถสร้างจากโปรแกรมไมโครซอฟต์เพาว์เวอร์พอยท์  และคอมเพจ
                2.  ชุดประพันธ์  เป็นชุดที่ใช้โปรแกรมเพื่อการพัฒนาโปรแกรมมัลติมีเดีย  มีฟังก์ชัน  ต่าง ๆ ให้ใช้ชุดประพันธ์จึงเป็นชุดที่ทำให้ผู้ใช้สามารถออกแบบโปรแกรมการสอบในห้องเรียนได้ตามต้องการไม่ว่าจะเป็นการใช้  ข้อความ  ภาพ  กราฟิก  เสียง  และวีดีทัศน์  ในการฝึกอบรมหรือการฝึกทบทวน  เป็นต้น  ซึ่งนอกจากจะเขียนเป็นโปรแกรมฝึกอบรมหรือการสอนแล้วยังสามารถนำชุดประพันธ์มาใช้เขียนการนำเสนอแบบแรกได้อีกด้วย
 
อง๕ประกอบด้านระบบของมัลติมีเดีย
                ระบบของมัลติมีเดียโดยหลัก ๆ แล้วจะประกอบด้วย  เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ  ดังนี้
                -  ไมโครคอมพิวเตอร์ชนิดส่วนบุคคล  หรือ  ชนิดเวิร์ดสาตรับ  ซึ่งมีศักยภาพในด้านของเสียงและวีดีทัศน์
                -  วิธีการทั้งหลากหลายในการปฏิสัมพันธ์กับระบบ  เช่น  มีคีย์บอร์ด  เมาส์  จอย์สติก  หรือจอแบบสัมพันธ์
                -  จอภาพต้องสามารถแสดงภาพที่มีความละเอียดสูงและแสดงภาพ  รวมถึงแสดงข้อความ  กราฟิกภาพเคลื่อนไหว  และวีดีทัศน์ได้
                -  มีลำโพงเสียงที่มีศักยภาพ  ในการเปล่งเสียงพูดและดนตรี
                -  ไมโครโพนเสียงที่มีศักยภาพในการเปล่งเสียงพูด  และดนตรี
                -  ซีดีรอม  หรือ  ออฟติกคอลดิสก์
มัลติมีเดียในอนาคต
                ต่อไปในอนาคตข้างหน้า  มัลติมีเดียจะเป็นนวัตกรรมตัวหนึ่ง  ที่มีการเติบโตขึ้นทั้งด้านของซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์  ราคาของมัลติมีเดียจะถูกลงอย่างมากในขณะที่ประสิทธิภาพในด้านของภาพ  เสียง  และวีดีทัศน์พัฒนาขึ้นจะมีคุณภาพสูง  การ เพิ่มศักยภาพของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียกระทำได้ง่ายส่วนในด้านของซอฟต์แวร์ จะสามารถใช้ได้ง่ายขึ้นและประยุกต์ไปพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทางการศึกษาได้ อย่างง่าย ๆ รวมถึงการนำเสนอมัลติมีเดียเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง  ในหลักสูตรและการสอน
                ความต้องการนำมัลติมีเดียไปใช้ในการฝึกอบรมมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ห้องเรียนมัลติมีเดีย  และรายวิชามัลติมีเดียได้จัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของการสอนในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย  สถาบันการศึกษาจะเป็นกลไกสำคัญในการฝึกอบรมประชาชนในการใช้มัลติมีเดียทางธุรกิจอุตสาหกรรมและการศึกษา  แนวโน้มการใช้มัลติมีเดียจะมีทิศทางที่เพิ่มขึ้น  โดยอาจคาดการณ์อนาคตได้ว่า  นักเรียนจะเรียนรู้จากห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์  คอมพิวเตอร์แทนการนั่งฟังการบรรยายของครู  นักเรียนจะดูการสอนของครูได้จากมัลติมีเดียที่ผลิตขึ้น
สรุปผล
                มัลติมีเดียโดยมากจะนำมาใช้เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเรียน  และตอบสนองรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของนักเรียน  และด้วยการออกแบบโปรแกรมแบบปฏิสัมพันธ์  เพื่อให้สามารถนำเสนอสื่อได้หลายชนิดตามความต้องการของผู้เรียน  จึงตอบสนองการเรียนด้วยตนเองแบบเชิงรุกได้  ซึ่งช่วยให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงก่อนลงมือปฏิบัติจริง  และสามารถที่จะทบทวนความรู้ต่าง ๆ หรือฝึกเรียนซ้ำได้  ส่วนการใช้มัลติมีเดียเป็นสื่อการสอนจะเป็นการส่งเสริมการสอนที่มีลักษณะการสอนโดยใช้สื่อประสม  ซึ่งทำให้สามารถนำเสนอเนื้อหาได้ลึกซึ่งกว่าการบรรยายปกติ  จึงอาจกล่าวได้ว่ามัลติมีเดียจะกลายมาเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการเรียนการสอนในอนาคต
 
บรรณานุกรม
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์วารสาร สสวท. ปีที่ 23 ฉบับที่ 90
              (กรกฎาคม- กันยายน, 2538) : 25-35.
พัลลภ พิริยะสุรวงศ์.ระบบการเรียนการสอน IMCAI” วารสารเทคโนโลยีการศึกษา. ที่ 3
              ฉบับที่3, (2539) : 43-57.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น