flower

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทเรียนแผ่นวีซีดีการ์ตูนที่มีดนตรีและเพลงประกอบ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการใช้บทเรียนแผ่นวีซีดีการ์ตูนที่มีดนตรีและเพลงประกอบA COMPARATIVE STUDY OF LEARNING ACHIEVEMENT OF GRADE 6 STUDENTS USING MULTIMEDIA ANIMATION WITH AND WITHOUT SONG บทคัดย่อการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตแผ่นวีซีดีประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง การถามและบอกปริมาณ โดยใช้บทเพลงเป็นกิจกรรมเสริมสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการเรียนการสอนแบบปกติ การใช้แผ่นวีซีดี เรื่องการถามและบอกปริมาณ และการใช้แผ่นวีซีดีประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้บทเพลงเป็นกิจกรรมเสริมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ ตำบลเทพารักษ์ อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งกำลังเรียนอยู่ในปีการศึกษา 2548 โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จำนวน 60 คน  และดำเนินการสุ่มตัวอย่างง่าย (simple random sampling) อีกครั้งเพื่อจัดเข้ากลุ่มทดลอง 3 กลุ่ม จำนวนกลุ่มละ 20 คน โดยกำหนดให้กลุ่มที่ 1 เป็นนักเรียนที่เรียนโดยการใช้บทเรียนแผ่นวีซีดีประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง การถามและการบอกปริมาณ โดยใช้บทเพลงเป็นกิจกรรมเสริมกลุ่มที่ 2 เป็นนักเรียนที่เรียนโดยการใช้บทเรียนแผ่นวีซีดีประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง การถามและการบอกปริมาณ โดยไม่ใช้บทเพลงเป็นกิจกรรมเสริมกลุ่มที่ 3 เป็นนักเรียนที่เรียนโดยการเรียนการสอนแบบปกติเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนแผ่นวีซีดีประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง การถามและการบอกปริมาณ โดยใช้บทเพลงเป็นกิจกรรมเสริมที่ผลิตขึ้นมีความยาว 10 นาที แบบประเมินรายการแผ่นวีซีดี และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งวิเคราะห์ผลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ค่าความยากง่าย (p) และค่าความจำแนก (r) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (F-test )ผลการวิจัยพบว่า แผ่นวีซีดี เรื่องการถามและการบอกปริมาณ มีประสิทธิภาพ 85.00 / 89.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยการใช้บทเรียนแผ่นวีซีดี ประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง การถามและการบอกปริมาณ โดยไม่ใช้บทเพลงเป็นกิจกรรมเสริม และนักเรียนที่เรียนโดยการสอนแบบปกติตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5          ABSTRACT            The purpose of this research was to compare self – study achievement through computer – assisted instruction with still and moving cartoon pictures.            The 54 subjects in this study ware Prathom Suksa students selected by simple random sampling from Demonstruction School of Ramkhamhaeng University. They were devided into 2 experimental groups, consisting of 27 students each. Both were taught with computer – assisted instruction, but one still cartoon pictures and the other with moving cartoon pictures. The data so nobtained was then analyzed using t-test            The results of the study showed that the students’ learning achievements in either group \were not significantly different at the .05 level.          บทนำ            การที่จะพัฒนามนุษย์ให้มีทั้งคุณภาพและประสิทธิภาพนั้น จะต้องมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ ในการเรียนการสอนให้ทันสมัย ถูกทิศทางและสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540 – 2544(สำนักนายกรัฐมนตรี,2538, หน้า 36) และได้มีการดำเนินการวิจัยและพัฒนาสื่อการสอน รวมทั้งเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อประโยชน์ต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม การจัดกิจกรรมในระดับประถมศึกษา ควรเน้นกิจกรรมมากกว่าทฤษฎี ส่งเสริมให้นักเรียนคิดเป็น ปฏิบัติเป็น และแก้ปัญหาได้ จะส่งผลให้คุณภาพการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วยเหตุนี้ การนำเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ตลอดจนการนำเครื่องมือเข้ามาช่วยแก้ปัญหา จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้สูงขึ้น (เปรื่อง กุมุท, 2526, หน้า 5 )            ไพโรจน์ ตีรณธนากุล และนิพนธ์ ศุภศรี (2528, หน้า 3) ได้กล่าวถึงการใช้วิดีโอเทปเพื่อการศึกษาว่า ในแวดวงการศึกษาว่า ในแวดวงการศึกษา จะพบปัญหาต่าง ๆ เช่น ครูไม่มีทักษะการสอนที่ดี ขาดความรู้ และความรอบรู้ที่เหมาะสม ผู้เรียนมีจำนวนมากเกินไป รวมทั้งผู้เรียนมีความสามารถที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งปัญหาเหล่านี้ สามารถนำโทรทัศน์ และวิดีโอเทปมาช่วยโดยไม่ยาก เพราะวีดิโอเทปมีความสามารถในการสื่อสารสูง มีทั้งภาพ สี และเสียง ในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะสามารถดูได้คราวละมาก ๆ และ ความสำเร็จของการใช้วีดิทัศน์เป็นสื่อร่วมกับครูและวิธีการสอน รวมทั้งมีแผน การสอนซึ่งใช้คู่กับแบบฝึกหัดทักษะการเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอน วิธีดำเนินการสอน การสอนคำศัพท์ สำนวน และรูปประโยคต่าง ๆ จากวีดิทัศน์จะสามารถบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ได้ (อรพรรณ สุริยพันธุ์, 2536, หน้า 26)            ในการสอนภาษาอังกฤษนั้นครูต้องเข้าใจว่า ภาษาอังกฤษเป็นภาษาใหม่สำหรับเด็กในการจัดการเรียนการสอน ครูจะต้องมุ่งเน้นให้เด็กมีทักษะในการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารได้ตามวัยและ ศักยภาพของเด็ก การจัดทำสื่อและกระบวนการสอนจึงต้องเน้นในเรื่องทักษะสัมพันธ์ เพื่อให้เด็กสามารถออกเสียงภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง ครูจะต้องมีการฝึกออกเสียงประโยคให้ถูกต้อง และมีการฝึกสนทนาในสถานการณ์ต่าง ๆ อาทิ ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคำถามแบบต่าง ๆ เป็นต้น หรืออาจมีการแสดงบทบาทสมมุติ เล่นเกม   และมีการฝึกร้องเพลง เพื่อให้เด็กมีความสามารถในการออกเสียงได้อย่างถูกต้องชัดเจน ถูกต้องสื่อความหมายได้ ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน และมีนิสัยที่ดีในการพูดออกเสียง (กระทรวงศึกษาธิการ, 2533, หน้า 70)            การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ จะให้ได้ผลดีนั้น ต้องใช้วิธีการและสื่อการเรียนการสอนหลายรูปแบบ การใช้เพลงประกอบการสอน เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียน ฝึกการออกเสียง ฝึกให้เข้าใจข้อความในเนื้อเพลง และเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษา อังกฤษ            บทเพลงมีความผูกพันต่อมนุษย์โลกมานานมาก ไม่มีบันทึกเป็นหลักฐานแน่ชัดว่าบทเพลงหรือดนตรีเกิดขึ้นเมื่อใดและเกิดขึ้น อย่างไร เพียงแต่ใช้การสันนิษฐานว่าคงเกิดจากการเลียนเสียงธรรมชาติต่าง ๆ ในโลก เช่น เสียงจากปรากฏการณ์ต่าง ๆ เสียงพูดหรือเสียงร้องซึ่งเกิดจากอารมณ์ต่าง ๆ ของมนุษย์นั่นเอง และมนุษย์ได้เป็นผู้นำความเปลี่ยนแปลงของเสียงเหล่านั้น มาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม หรือพิธีกรรม หรือประกอบกับกิจกรรม เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ             วีดิทัศน์เป็นสื่อที่มีคุณลักษณะเฉพาะตัวที่เหมาะสมที่สุด เป็นสื่อที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเรียน และมีผลต่อการรับรู้อย่างยิ่ง ทั้งนี้ เพราะวีดิทัศน์สามารถนำรูปธรรมมาประกอบการสอนได้สะดวกอย่างรวดเร็ว และสามารถทำให้ผู้เรียนได้เห็นสิ่งที่ต้องการจะเน้นได้ชัดเจน (กิดานันท์  มลิทอง, 2540, หน้า 131) ภาพและเสียงที่แสดงออกมาจากวิดีทัศน์ยังสามารถเร้าจูงใจผู้เรียนได้ดี ทั้งมีอิทธิพลต่อจิตใจของผู้เรียนสูง (วสันต์  อติศัพท์, 2533, หน้า 13 ) นอกจากนั้น แล้วสื่อโสตทัศนูปกรณ์แบบเก่าเกือบทั้งหมด อาทิเช่น หุ่นจำลอง กราฟ ภาพถ่าย ภาพยนตร์ วิทยุ ล้วนสามารถนำเสนอได้ด้วยโทรทัศน์และวีดิทัศน์ กล่าวคือ การนำเสนอด้วยภาพและเสียงได้พัฒนาถึงจุดสูงสุดในรูปแบบของสื่อโทรทัศน์และวิ ดีทัศน์นั่นเอง            ในการสอนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผ่านมา พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนยังไม่ดีนัก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะความรู้สึกที่ไม่ดีต่อการเรียนภาษาต่างประเทศ และไม่คุ้นเคย โดยเฉพาะปีแรก ๆ ที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนภาษาอังกฤษ จะต้องสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนภาษาอังกฤษแก่ผู้เรียน จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้วิจัยได้แต่งเพลงประกอบการสอนขึ้น โดยกิจกรรมการร้องเพลงนี้ พบว่า เป็นเทคนิคการสอนที่ได้ผลดีอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งผู้วิจัยคาดว่าการสร้างบทเรียนในรูปแบบแผ่นวีซีดี ซึ่งประกอบการสอนอย่างมีการ์ตูนที่มีดนตรีเพลงประกอบ สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ ดีขึ้น โดยที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ภาษาไปด้วยโดยไม่รู้ตัวในระหว่างที่เขาหัดร้อง เพลง และสามารถจำคำศัพท์ และประโยคต่าง ๆ ได้โดยไม่ยากเกินไปนัก และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อประโยชน์ในการสอน และเผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย            1.เพื่อผลิตบทเรียนแผ่นวีซีดีประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง การถามและการบอกปริมาณ โดยใช้การ์ตูนที่มีดนตรีและเพลงประกอบสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80            2.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียน แผ่นวีซีดีการ์ตูนที่มีดนตรีและเพลงประกอบ ใช้บทเรียนแผ่นวีซีดีการ์ตูนที่มีดนตรีและไม่มีเพลงประกอบ และเรียนแบบปกติ สมมติฐานของการวิจัย            1.บทเรียนแผ่นวีซีดีการ์ตูนที่มีดนตรีและเพลงประกอบ วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง การถามและการบอกปริมาณ ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80            2.นักเรียนที่เรียนโดยการใช้บทเรียนแผ่นวีซีดีประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง การถามและการบอกปริมาณ โดยใช้บทเรียนแผ่นวีซีดีการ์ตูนที่มีดนตรีและเพลงประกอบ ใช้บทเรียนแผ่นวีซีดีการ์ตูนที่มีดนตรีและไม่มีเพลงประกอบ และเรียนแบบปกติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันตามลำดับ ขอบเขตของการวิจัยกลุ่มประชากร            กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ ตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 361 คน กลุ่มตัวอย่าง            เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ ตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งกำลังเรียนในปีการศึกษา 2548 โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (simple random sampling) จำนวน 60 คน แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย อีกครั้งเพื่อจัดเข้ากลุ่มทดลอง 3 กลุ่ม ๆ ละ 20 คน ดังนี้ คือ            กลุ่มที่ 1 เป็นนักเรียนที่เรียนโดยการใช้บทเรียนแผ่นวีซีดีการ์ตูนที่มีดนตรีและเพลง ประกอบ วิชา ภาษาอังกฤษ เรื่อง การถามและการบอกปริมาณ            กลุ่มที่ 2 เป็นนักเรียนที่เรียนโดยการใช้บทเรียนแผ่นวีซีดีการ์ตูนที่มีดนตรีและไม่มี เพลงประกอบ วิชาภาษาอังกฤษ เรื่องการถามและการบอกปริมาณ            กลุ่มที่ 3 เป็นนักเรียนที่เรียนโดยการเรียนการสอนแบบปกติ วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง การถามและการบอกปริมาณเนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง            เนื้อหาที่ใช้ในการสอน นำมาจากหนังสือแบบเรียนภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การถามและการบอกปริมาณ วิธีดำเนินการวิจัย            การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) โดยมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้            1.จัดเตรียมห้องเรียนที่จะใช้ทดลองจำนวน 3 ห้องเรียน จัดให้เป็นห้องเรียนแบบปกติ และเรียนโดยใช้บทเรียนแผ่นวีซีดีการ์ตูนที่มีดนตรีและเพลงประกอบ และบทเรียนแผ่นวีซีดีการ์ตูนที่มีดนตรีและไม่มีเพลงประกอบ วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง การถามและการบอกปริมาณ ซึ่งจัดเครื่องรับโทรทัศน์สี และเครื่องเล่นวีซีดีไว้ให้ 1 ชุด            2.ให้นักเรียนจับสลากเพื่อเข้าจัดกลุ่มทดลองจำนวนกลุ่มละ 20 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ ตำบลเทพารักษ์ อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งกำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 บอกจุดมุ่งหมายของการทดลอง และอธิบายวิธีการเรียน โดยใช้เวลาประมาณ 3 นาที            3.ให้นักเรียนแบบปกติ และชมบทเรียนแผ่นวีซีดีประกอบการสอนที่มีเนื้อหาในบทเรียนเหมือนกันทีละ กลุ่ม            4.ระหว่างการเรียนให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด            5.หลังจากเรียนจบให้นักเรียนทำแบบทดสอบ            6.นำกระดาษคำตอบของกลุ่มทลองทั้ง 3 กลุ่มมาตรวจให้คะแนนแบบ 0 – 1 (zero-one-method) โดยตอบถูกให้ 1 คะแนน ตอบผิดหรือไม่ตอบ หรือเลือกมากกว่า 1 ตัวเลือกในข้อเดียวกันให้ 0 คะแนน            7.นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานและสรุปผลการวิจัย ต่อไป ผลของการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัย นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้            1.การวิเคราะห์ผลการประเมินสื่อ พบว่า แบบประเมินสื่อแผ่นวีซีดีการ์ตูนที่มีดนตรีและเพลงประกอบอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ในด้านคุณภาพและด้านเวลา ส่วนด้านคุณภาพเสียง ด้านคุณภาพของเทคนิคการนำเสนอ และด้านเนื้อหาอยู่ในเกณฑ์ดีทำนองดนตรีควรเป็นแบบที่มีจังหวะสนุกสนานเร้าใจ มากขึ้น ซึ่งผู้วิจัยได้นำสื่อไปปรับปรุงตามที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำก่อนไปทดลองหา ประสิทธิภาพต่อไป            2.การวิเคราะห์ผลการหาประสิทธิภาพของแผ่นวีซีดี เรื่องการถามและการบอกปริมาณ ผู้วิจัยได้ทำการทดลองหาประสิทธิภาพของสื่อแผ่นวีซีดีการ์ตูนที่มีดนตรีและ เพลงประกอบออกได้เป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 สรุปได้ว่า ผลการหาประสิทธิภาพสื่อแผ่นวีซีดีการ์ตูนที่มีดนตรีและเพลงประกอบแบบหนึ่ง ต่อหนึ่งประสิทธิภาพเท่ากับ 80.00/85.00 ขั้นตอนที่ 2 เป็นการทดลองหาประสิทธิภาพของสื่อแผ่นวีซีดีการ์ตูนที่มีดนตรีและเพลงประกอบ แบบกลุ่มเล็ก (small group testing) สามารถสรุปได้ว่า ผลการหาประสิทธิภาพสื่อแผ่นวีซีดีการ์ตูนที่มีดนตรีและเพลงประกอบแบบหนึ่ง ต่อห้าประสิทธิภาพเท่ากับ 79.00/84.00 พบว่า ตัวอักษรไม่ชัดเจน เสียงร้องและดนตรีเบาเกินไป จึงทำการปรับปรุงเพื่อนำไปทดลองในครั้งต่อไป ขั้นตอนที่ 3 การทดลองหาประสิทธิภาพของสื่อแผ่นวีซีดีการ์ตูนที่มีดนตรีและเพลงประกอบแบบ กลุ่มภาคสนาม (field testing) ผลการทดลองสรุปได้ว่า ผลการหาประสิทธิภาพสื่อแผ่นวีซีดีการ์ตูนที่มีดนตรีและเพลงประกอบแบบหนึ่ง ต่อสามสิบประสิทธิภาพเท่ากับ 85.00/89.67            3.การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สรุปผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง  3 กลุ่ม ดังนี้คือ การสอนใน 3 วิธีมีอย่างน้อย 1 วิธีที่แตกต่างจากวิธีอื่นที่ระดับนัยสำคัญ .05 และวิธีการสอนแบบมีเพลงประกอบและวิธีการสอนแบบไม่มีเพลงประกอบ กับวิธีการสอนแบบปกติ แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 การอภิปรายผลการวิจัย            1.จากผลการวิจัยเห็นได้ว่า บทเรียนแผ่นวีซีดีการ์ตูนที่มีดนตรีและเพลงประกอบ สามารถทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูง เนื่องจากบทเรียนแผ่นวีซีดีเป็นสื่อการสอนที่ให้ทั้งภาพ และเสียง สามารถฉายทบทวน และหยุดภาพได้ในช่วงใดช่วงหนึ่ง อีกทั้งยังใช้การ์ตูน และเพลงมาใช้ในการดึงดูดความสนใจให้เกิดความสนใจ เกิดความเข้าในการเรียนรู้ได้ง่าย และลึกซึ้ง สอดคล้องกับงานวิจัยของโสภา ท่าเรือพลี (2526) แผ่นวีซีดี เป็นสื่อที่ดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี และแผ่นวีซีดี ให้ทั้งภาพที่มีสีสัน และเสียงบรรยากาศที่ตรงกับเรียนได้ชัดเจน แสดงภาพในแง่มุมต่าง ๆ ให้เห็นทั้งภาพระยะไกล รวมถึงประหยัดเวลาในการสอนสามารถใช้ทดแทนการขาดแคลนวิทยากรได้            2.นักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนแผ่นวีซีดีการ์ตูนที่มีดนตรีและเพลงประกอบ เรื่อง การถามและการบอกปริมาณ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนแผ่นวีซีดีการ์ตูนที่มีดนตรีและไม่มีเพลง ประกอบและนักเรียนที่เรียนแบบปกติ ตามลำดับ เนื่องจากเนื้อหาสาระ สื่อ และกิจกรรมที่นำมาใช้ทดลอง สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนให้ติดตามด้วยการสร้างเป็นภาพการ์ตูน เคลื่อนไหว ภาพกราฟิกที่มีสีสัน เสียง ซึ่งสอดคล้อง กับ เยาวนิศ เต็งไตรรัตน์ (2542) ได้ทำการวิจัยในแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษ พบว่า มีความแตกต่างขมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสูงกว่ากลุ่มที่มีแรงจูงใจ ต่ำซึ่งมีสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนภาษาอังกฤษต่ำ และพบว่า สาเหตุหนึ่งของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในปัจจุบันมีประสิทธิภาพที่ไม่น่าพอ ใจ เนื่องจากผู้เรียนขาดแรงจูงใจที่ทำให้เกิดความอยากเรียน ผู้สอนจึงควรที่จะสร้างแรงจูงใจไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมทางด้านการเรียน สิ่งเร้าที่จะช่วยสร้างแรงจูงใจ โดยการใช้ดนตรีหรือบทเพลงเป็นสื่อหรือสิ่งเร้าที่จะสร้างแรงจูงใจให้เกิด ความอยากที่จะเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น เพราะโดยธรรมชาติเด็ก ๆ จะชอบเสียงเพลง เพราะจะช่วยให้เกิดความสนุกสนาน และเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะ            1.ในกระบวนการวิชาที่มีเนื้อหาค่อนข้างยากแก่การเข้าใจ หรือนักเรียนไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการเรียนการสอนวิชานั้น ๆ ครูผู้สอนจะต้องหาวิธีดึงดูดความสนใจ หรือกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกสนุกกับการเรียน และอยากที่จะเรียน ซึ่งจะเกิดผลดีในกระบวนการเรียนการสอน            2.เพลงที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนสำหรับเด็กนั้น ควรเป็นเพลงที่มีจังหวะทำนองที่สนุกสนานเร้าใจ จะทำให้ผู้เรียนสนุกสนาน มีความรู้สึกที่อยากจะร้องตามและจดจำทำนองและเนื้อร้องได้ดี ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป            1.ควรมีการผลิตบทเรียนแผ่นวีซีดี และบทเพลงประกอบการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่องอื่น ๆ เช่น การถามและการบอกเวลา เป็นต้น            2.ควรสร้างสื่อในรูปแบบคล้าย ๆ กันจากเนื้อหาวิชาอื่น ๆ แล้วแต่ความเหมาะสมของเนื้อหา            3.ควรมีการศึกษาวิจัยถึงรูปแบบวิธีการอื่น ๆ ที่จะนำมาประกอบการเรียนการสอน เช่น การเต้นประกอบท่าทาง เกม การละเล่นต่าง ๆ เป็นต้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น